Psyduck Pokemon

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

จากการศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของจังหวัดในภาคตะวันออก ผู้วิจัยจำแนกการอภิปรายผลออกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. ระดับความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศารตร์ของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
    1.1 ความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ ผู้ปกครองต้องการให้ เด็กปฐมวัยมีความพร้อมในเรื่องตัวเลข คือสามารถนับเลขและอ่านเลขได้
    1.2 ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากการวิจัยพบว่าผู้ปกครองให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของ ตัวเลข จำนวน การสังเกตเปรียบเทียบ การจำแนกแยกแยะ และการรู้จักตำแหน่ง บน ล่าง หน้า หลัง ซึ่งเด็กจำเป็นต้องนำไปใช้ในชีวิตแต่ละวัน
    1.3 ด้านการเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ ในการวิจัยพบว่าผู้ปกครอง ต้องการให้ครูจัดบรรยากาศของการเรียนคณิตศาสตร์ที่ไม่เคร่งเครียด และมีสื่ออุปกรณ์ที่น่าสนใจ และในการเรียนคณิตศาสตร์ผู้ปกครองต้องการให้เด็กได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติด้วยตนเตง เพื่อที่จะได้เสริมทักษะในด้านคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
2.เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำแนกตามความเกี่ยวข้องกับเด็กแตกต่างกัน มีอาชีพแตกต่างกัน แต่มีความต้องการทางด้านปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกัน



สรุปวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

   กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวันหรือ 6 กิจกรรมหลัก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ 2546 มีกิจกรรมดังนี้
1.ปูมีขา(กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ) เด็กจะได้เรียนรู้ว่าปูมีขา 8 ขา มีก้าม 2 ก้าม เกิดการเปรียบเทียบจากการนับนิ้วมือ
2.ต้นไม้ใกล้ตัว(กิจกรรมเสริมประสบการณ์) เป็นการเปรียบเทียบ การนับจำนวนของใบไม้ที่ร่วง จากการศึกษานอกห้องเรียน
3.ใบไม้แสนสวย(กิจกรรมสร้างสรรค์) เป็นการร้อยใบไม้ การพิมพ์ภาพของใบไม้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
4.มุมคณิต (กิจกรรมเสรี) โดยการให้เด็กนำสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรามาวางให้ตรงกับจำนวนบัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
5.เกมกระต่ายเก็บของ(กิจกรรมกลางแจ้ง)เป็นการเก็บของจากการจัดสิ่งของตามลำดับ 5 สิ่งโดยให้เด็กๆวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบทุกสิ่ง
6.เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหินสองสี มาเรียงตามจำนวนสีให้ตรงกับบัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
  นอกจากนี้เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน การนำมาประยุกต์ใช้ และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก ที่สำคัญเราต้อง เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ให้เด็อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำและง่ายขึ้น


สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  คณิตศาสตร์กับชีวิต

“จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอดีตจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์คือระหว่างปี พ.ศ. 2325-2426 นั้นประเทศไทยยังไม่มีโรงเรียน แต่มีการเรียนกันที่วัดหรือที่บ้าน ความมุ่งหมายในสมัยนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขได้ นอกจากนั้นอาจมีการเรียนช่างฝีมือกันที่บ้าน...” (ทิศนา แขมณี: ศาสตร์การสอน; 29)
                จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ (1)หาสิ่งที่ต้องการทราบ (2)ว่างแผนการแก้ปัญหา (3)ค้นหาคำตอบ (4)ตรวจสอบ จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
                จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
                การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
                การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
                ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
                จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การวางแผนการทำงานในรูปแบบต่างๆ ล้วนสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนในฐานะที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่กกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ของคณิตศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่าน เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วจะได้เห็นความสำคัญของคณิตศษสตร์

 
 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

   ทำปฏิทิน ซึ่งในวันนี้ทำในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องและแก้ไขทำให้เสร็จ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็สามารถนำไปใช้ได้จริง

   จากนั้นก็นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์มา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อสื่อการสอนชิ้นนี้ว่า  "โรงเรียนหรรษา"
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้คือ  - ฟิวเจอร์บอร์ด  
                               - แกนกระดาษทิชชู่  
                               - กระดาษสีแข็ง  
                               - กระสีอ่อน
                               - ฝาขวดน้ำ 
                               -กระดาษขาวเทาแข็ง 
                               - แผ่นใส 
                               - เทปกาว

วิธีการทำ 1. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดออกมาแล้วทำเป็นตัวฐาน
              2. พับกล่องที่มีขนาดต่างกัน 5 กล่อง ได้แก่ 2 กล่องใส่ตัวเลขและฝา  2 กล่องนำมาติดเพื่อหยอดฝาลงไป  1 กล่องใส่ผลรวมของฝาที่ไหลลงมาจากกล่องด้านบน
             3. นำกล่องและแกนกระดาษทิชชู่ที่หุ้มกระดาษสีแล้วมาติดเข้ากับฟิวเจอร์บอร์ด
             4. ทำที่ใส่ตัวเลขให้ติดกับตัวกล่องที่พับขึ้นมา โดยใช้เทปกาวหนังไก่และแผ่นใส
             5. ตัดประดาษสีแปะกับกระดาษแข็งทำเป็นหลังคาให้ดูคล้ายกับโรงเรียน

วิธีการเล่น  นำฝาที่มาหยอดใส่กล่องทั้ง 2 ฝั่ง และนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าจำนวนฝาที่หยอดลงไป ฝาจะไหลลงมาที่กล่องใหญ่ นับจำนวนฝาและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

 เด็กจะได้สาระการเรียนรู้เรื่องจำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณและนำฝามาจัดแยกหมวดหมู่โดยการตั้งเกณฑ์ได้ รวมได้สาระการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตได้จากการสอดแทรกจากรูปทรงของตัวกล่องและหลังคาโรงเรียนอีกด้วย 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 ได้นำเสนอสื่ออาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ทำให้มีวิธีการคิดที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง และปฏิทินก็สำเร็จเรียบร้อยสามารถนำไปใช้ได้จริง

การประเมิน

  ตนเอง: ตั้งใจทำปฏิทินให้สำเร็จ นำเสนอสื่อเป็นกลุ่ม และจะนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ไปปฎิบัตินำนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน
  อาจารย์: ให้คำปรึกษาแนะนำที่ดี ในขณะที่ทำสื่อ อาจารย์ก็จะเดินดูแต่ละกลุ่มพร้อมบอกสิ่งที่ควรแก้ไข แนะนำเพิ่มเติม อบอุ่น น่ารัก
  สภาพแวดล้อม: น่าเรียน อุปกรณ์ครบครัน



วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  เนื่องจากต้องไปทำธุระที่กองบังคับการทหารไทย มาเรียนช่วยเพื่อนทำงานและต้องรีบออกไป อยู่ไม่ทันตอนแต่ละกลุ่มสอน เลยได้นำของนางสาวณัชชา  เศวตทวีมาอ้างอิงดังนี้
นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสต์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละส่งตัวแทนที่สอนในแต่ละวันออกมาสอน และให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้

วันจันทร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน (ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษายานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย) 
วันศุกร์  หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)




กลุ่มของข้าพเจ้าได้สอนในวันอังคาร เรื่องลักษณะของบ้าน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

แผนการสอนของแต่ละกลุ่มมีความหลากหลาย และได้เห็นแนวการสอนของแต่ละกลุ่มที่ลองสอนจริง รวมถึงอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขการสอนให้ดีขึ้นได้

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้ช่วยเพื่อนเตรียมตัวในการสอบสอน
  อาจารย์: อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ และเสริมจากที่เราสอน
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ  

นำเนอสื่อที่ตนเองได้หามาให้อาจารย์และเพื่อนๆฟัง อาจารย์ก็จะบอกข้อดีข้อเสียให้เรานำไปใช้ได้




และอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆที่ยังไม่นำเสนอวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอน มานำเสนอ และอาจารย์ก็ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก มีคำถามดังนี้
1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า
  โดยแต่ละคนต้องคิดวิธีการสอนของตนเองขึ้นมา โดยอาจารย์จะดูว่าเราเข้าใจแค่ไหน และอาจารย์จะดูของแต่ละคน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  ได้ฟังบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัยที่สามารถนำมาปรับใช้ในการกเรียนได้

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ถาม จากที่เพื่อนนำเสนอ
  อาจารย์: ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี และการนำไปปรับใช้
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  อาจารย์แนะนำเกมการศึกษาในรูปแบบต่างๆเช่น เกมจับคู่  เกมโดมิโน เกมลอตโต จิ้กซอว์






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 ได้รู้ว่าเกมการศึกษามีหลากหลายรูปแบบสามารถทำเองได้จากวัสดุเหลือใช้ ประยุกต์ให้สอดคล้องในแต่ละวิชา

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้แนวคิด ทักษะกระบวนการในการทำเกมการศึกษา
  อาจารย์: มีเกมการศึกษาให้เราได้ดูอย่างหลากหลายพร้อมบอกวิธีในการทำ
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  หลักสูตร                       ➨แนวทางการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง4ด้านประกอบด้วย ร่างกาย อารมณ์ สงคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ
  สาระที่เด็กควรรู้           ➨1.ประสบการณ์สำคัญ
                                 2.สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคล สถานที่ ตัวฉัน ควรถามที่เด็กสนใจ ใกล้ตัวเด็ก ผลกระทบ และที่สำคัญ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ คิดนอกกรอบทำให้เด็กคิดได้
  วางแผนเรื่องที่จะสอนมีเนื้อหาอะไรบ้าง เป็นอย่างไร ดูแลรักษาได้ไหม ประโยชน์ โทษ ข้อควรระวัง
  ออกแบบ                      จัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เพราะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ได้ Activity เคลื่อนไหวและจังหวะด้านร่างกาย ศิลปะสร้างสรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ แสดงความรู้สึก ทำงานร่วมกัน และประสาทสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อเล็กกับตา กิจกรรมเสรีด้านสังคม บทบาทสมมติ เสริมประสบการณ์ด้านสติปัญญา กลางแจ้งด้านร่างกาย เกมการศึกษาด้านสติปัญญา
  เวลาเขียนแผนต้องรู้ว่าเนื้อหาจะสอนอะไรวันไหน
สไตล์การออกแบบก็เป็นไปตามกิจกรรมนั้นๆให้สัมพันธ์กับเนื้อหา




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  ได้ทราบถึงวิธีการเขียนแผน ต้องวางแผนให้ดี ต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา 

การประเมินผล

  ตนเอง: ตั้งใจฟังและร่วมแสดงความคิดเห็น
  อาจารย์: อธิบายวิธีการเขียนแผนอย่างครบถ้วน
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วันพุธที่ 22มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

 ➤ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มร่วมมือกันทำบอร์ดของตนเอง เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ






วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  อาจารย์ให้วาดรูปและนำอุปกรณ์มาประกอบคือ ไม้ ดินน้ำมัน นำมาต่อกันกับของเพื่อนให้เป็นรูปทรง ทำให้รู้เรื่องมิติสัมพันธ์ จากนั้นนำไปวางไว้หน้าชั้นเรียน เพื่อวิเคราะห์รูปทรง การแทนตัวเลข เรขาคณิต มีความเหมือนต่างกันอย่างไร ดูว่าเด็กชอบรูปทรงแบบไหน โดยมีวิธีการออกแบบให้เโ็กได้ลงมือทำเด็กก็จะเรียนรู้ได้ดีขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในอนาคต ในการสอนเด็กเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง ความแตกต่างระหว่างรูปทรง
เด็กได้สร้างดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆ

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ได้คิดสร้างสรรค์
  อาจารย์: มีวิธีการสอนที่หลากหลายกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดนอกกรอบที่ดีและหลากหลาย
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ





วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


     มีลูกอมคละสีปนกัน อาจารย์ก็จะให้คาดคะเนลูกอมในกระปุกว่ามีเทาไหร่ ใด้เด็กได้นับจำนวน แล้วแบ่งลูกอมให้เป็นเลขฐานสิบ สมมุติว่ามีลูกอมสามสิบก้อน ก็จะจัดวางลูกออมกอลละ10 เพื่อให้เด็กได้เห็นชัดเจนขึ้นได้เข้าใจง่าย เด็กได้นับ ได้คาดคะเน รู้ค่าและจำนวณ แทนค่าด้วยตัวเลข และเด็กได้จัดประเภทโดนที่เรากำหนดเกณฑ์ให้เด็ก เช่น สี ขนาด ตามแต่ความเหมาะสม
     หลังจากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 3-5 คนออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยที่จะมาแบ่งกันสอน โดยกลุ่มของดิฉันได้สถานที่ ก็ได้ร่วมมือกันระดมความคิด

การนำไปประยุกต์ใช้

    ได้วิธีการสอนคณิตให้เด็กได้เข้าใจง่ายขึ้น เข้าใจวิธีการสอนเด็กปฐมวัย 

การประเมิน

   ตนเอง: เข้าใจวิธีการสอนได้ชัดเจนขึ้นในแต่ละครั้งที่ได้รับความรู้ ชอบการทำงานรที่รดมความคิดร่วมกับเพื่อนที่แบ่งเป็นกลุ่ม ได้ปฏิบัติ เข้าใจง่าย ไม่ง่วงนอน 
   อาจารย์ : อธิบายรายละเอียดเข้าใจและชัดเจนมาก ถ้าคนไหนไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายให้จนเข้าใจ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย
   สภาพแวดล้อม: สื่อครบครัน ห้องเรียนเย็นสบาย เป็นส่วนตัว









สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





อุปกรณ์

แผงไข่
กระดาษสี
สีน้ำ
พู่กัน
กรรไกร
กาว
กระดาษลังหรือกระดาษแข็งหนาๆ
สีเมจิก
ดินสอ

วิธีทำ

1.นำแผงไข่มาระบายสีน้ำให้ทั่วทั้งแผง ทิ้งไว้ให้แผงไข่แห้ง
2.นำกระดาษลังมาตัดให้เป็นวงกลมขนาดที่สามารถวางในแผงไข่ได้
3.นำกระดาษลังที่ตัดแล้วมาตกแต่งด้วยกระดาษสีใส่สีพื้นหลัง
4.ตัดกระดาษเป็นรูปผลไม้แทนจำนวน 1-5 
5.นำมาวางเรียงกันดังภาพ
6.นำไปทดลองใช้จริง

วิธีการเล่น

ให้เด็กๆนำตัวเลขเป็นภาพผลไม้ประเภทเดียวกันจำนวนเท่ากันมาวางลงในแผงไข่  เรียงลำดับจำนวน
 1-5

ประโยนช์

-เด็กสามารถบอกชื่อผลไม้ได้
- บอกจำนวน 1-5 
-ได้ทักษะในารเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ การสังเกต รูปทรง ขนาด สี



วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อนวัตกรรมการสอน
     ให้เด็กได้เล่นจริง มีคุณภาพ เสริมความรู้ เสริมประสบการณ์ให้เด็ก มีความคงทนและปลอดภัยต่อตัวเด็กจากที่ได้ดูสื่อการสอนของรุ่นพี่ จะยกตัวอย่างมีดังนี้คือ ตัวอักษรกระดาษทราย จะเป็นพยัญชนะโดยใช้ตัวอักษรกระดาษทราย โดยให้ใช้นิ้วมือสัมผัส บล็อก จะใช้หลักมอนเตสเซอรี่ให้เด็กได้รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง



งานวิจัย
     มีสองเรื่องคือ การศึกษาการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่ และ การส่งเสริมกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย
แผนการจัดการเรียนรู้
     เน้นการจัดประสบการณ์ทั้งสี่ด้านให้กับตัวเด็ก ให้เด็กได้เห็นขอจริง ได้รู้ได้สังเกต ไม่เน้นให้เด็กได้หัดเขียน หัดอ่าน 
Project Approach
     เป็นเรื่องในหลวง แบ่งการดำเนินการเป็นสามระยะคือ
ระยะที่ 1 ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถามได้คำถามคือ ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง
ระยะที่ 2 ครูจัดโครงการขึ้นมาทำให้เด็กได้เรียนรู้และเกิดประสบการณ์ใหม่โดยที่ครูและเด็กๆร่วมกันทำไข่พระอาทิตย์
ระยะที่ 3 ครูให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้และประเมินผล
     จากการทำไข่พระอาทิตย์เด็กได้เรียนรู้การทำไข่พระอาทิตย์ และไดใช้หลัก STEM มาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     ได้เห็นพี่ๆนำเสนอผลงานของตนเอง พี่ๆมีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย น้ำเสียงฟังชัดเจน จะนำไปใช้ในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในวิชาได้ และได้รู้วิธีการทำโปรเจคที่ต้องละเอียดและนำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้ การเขียนแผนการสอยรูปแบบวิธีการเขียนแผน

การประเมินผล

     ตนเอง: ได้เข้าใจการทำโปรเจคมากขึ้น ได้เห็นสื่อการสอนของจริงที่มีการนำไปใช้จริง รู้วิธีการเขียนแผนการสอนมากยิ่งขึ้น และได้มีปฏิสัมพันธ์กับพี่ๆด้วย
     อาจารย์: แนะนำ ชี้แนะ จากผลงานของพี่ๆให้เราได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
     สภาพแวดล้อม: พี่ๆจัดผลงานได้สวย หลากหลาย น่าชมมาก



วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2560


ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 3 เรขาคณิต
     🔼มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
     🔼มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดการกระทำ
          ⧫ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง การบอกตำแหน่ง ทิศทาง
          ⧫รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ งานสร้างสรรค์
สาระที่ 4 พีชคณิต
     🔼มาตรฐาน ค.ป. เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
     🔼มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองและธรรมชาติรอบตัว การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอแผนภูมิอยางง่าย
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
     การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และการเชื่องโยงกับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

รุ้และเข้าใจสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นำไปใช้ในกานสอน และปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

การประเมินผล

ตนเอง: เข้าใจความหมาย ตั้งใจเรียน
อาจารย์: คาบนี้อาจารย์สอนเร็วเพราะอาจารย์มีประชุม
สภาพแวดล้อม: เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่ดี

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

ได้รับความรู้เกี่ยวกับความรู้เชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวข้องกับความรู้ 4 ประเภทดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด
2.ความรู้ทาสังคม (Social knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน หนึ่งปีมี 12 เดือน
3.ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic knowledge) การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยง เช่น การนับจำนวณสิ่งของของกลุ่มหนึ่ง
4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic knowledge) เป็้นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ เช่น เขียนเลข 8 แทนจำนวนผลไม้ วาดวงกลมแทนจำนวน

เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง           ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ     นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา     หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
     🔼มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวณและการใช้จำนวนในชีวิตจริงเช่น จำนวนบอกปริมาณในการนับ การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับจำนวน การรวมและการแยกกลุ่ม ความหมายของการรรวม การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีจำนวณผลไม้ไม่เกิน 10 ความหมายของการแยก การแยกกลุ่มย่ยออกจากลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 การวัด
     🔼มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร การเปรียบเทียบ การวัด การเรียงลำดับความยาว การเปรียบเทียบ การชั่ง การเรียงงลำดับน้ำหนัก การเปรียบเทียบปริมาตร การตวง เงิน ชนิด และค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เวลา ช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช้บอกกับวัน เช่น ปฏิทิน

การนำไปประยุกต์ใช้

เข้าใจความรู้เชิงคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้รู้มาตรฐานสาระการเรียนรู้ นำไปใช้ในการสอน ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การประเมินผล

ตนเอง: สนุกกับการเรียนได้ร้องเพลงร่วมกับเพื่อนๆ
อาจารย์: สอนเข้าใจง่ายลึกซึ้ง
สภาพแวดล้อม: อุปกรณ์ สื่อการสอนครบ น่าสนใจ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

ได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้พับกระดาษแบ่งเป็นส่วนๆ ได้ออกแบบชื่อเล่นตัวเอง ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนแปลง
คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
ความสำคัญ คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์และศิลปะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด มีเหตุผล พิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือในการฝึกการคิดอย่างมีระบบ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ประโยชน์ ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรมที่จำนำเด็กไปสู่ความเข้าใจ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กระบวนการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ
1.การนับ (Counting)
2.ตัวเลข (Number)
3.การจับคู่ (Matching)
4.การจัดประเภท (Classification)
5.การเปรียบเทียบ (Comparing)
6.การจัดลำดับ (Ordering)
7.รูปทรง เนื้อที่ (Shape and Space)
8.การวัด (Measurement)
9.เซต (Set)
10.เศษส่วน (Fraction)
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conserration)
ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แก้เป็นหาเป็น มีความสามารถในการคิดคำนวณ เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น รู้จักสังเกต เปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ เพิ่มขึ้น ลดลง
แนวทางในการส่งเสิมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบจุดประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหา วิธีการสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้อการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้รู้และเข้าใจความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กได้ ได้ความรู้เพิ่มเติม

การประเมินผล

อาจารย์: สอนได้เข้าใจ อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพประกอบได้ดี
ตนเอง: ตั้งใจเรียน แอบง่วงแต่ก็ไม่หลับเพราะเสียงอาจารย์ชัดเจน ทำให้ตื่นตัวตลอดเวลา
สภาพแวดล้อม: อุปกรณ์สื่อครบ เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีความสุขไม่กดดัน


วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากไม่ไม่สบายจึงได้รับข้อมูลจากนางสาวณัชชา เศวตทวี ดังนี้
การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
🔼 โดยการนับ
🔼 จับคู่ 1 ต่อ 1
🔼 เปรียบเทียบรูปทรง
🔼 เรียงลำดับ
🔼 จับกลุ่ม
จอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ คือ

1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ⏩ ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) ⏩ สร้างมโนภาพในใจได้
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) ⏩ เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

เลฟ ไวก็อตสกี้ (Lev Vygotsky) "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุน และเพิ่มพัฒนาการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ (Internalize)"

- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มีสมรรถนะ (Competency)
- "นั่งร้าน" (Scaffold) การสนับสนุนของผู้ใหญ่โดยให้การช่วยเหลือกับเด็ก
-ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย
เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลงขวด 5 ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง 
(ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง

เพลงเท่ากัน - ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา   ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา     สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา     สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น    ไม่เท่ากันเอย

เพลงบวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ            ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้รู้องค์ประกอบของนักทฤษฏีนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้
ตนเอง: -
อาจารย์:-
สภาพแวดล้อม: -




วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

1.ประสบการณ์➨เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยเด็กได้เลือกและตัดสินใจอย่างอิสระ
2.การเล่น➨ เป็นวิธีการเรียนรู้
3.พัฒนาการของเด็กปฐมวัย➨ มีอายุเป็นตัวกำกับ
 🔺ประโยชน์ของพัฒนาการ
เป็นการแสดงความสามารถของเด็กที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
➪ทำให้เรารู้ว่าเด็กมีความสามารถ
➪ทำให้เราจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมตามวัยเพื่อส่งเสริมและแก้ไข
พัฒนาการด้านสติปัญญา
แรกเกิด-2ปี ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
ทฤษฏีพัฒนาการการด้านสติปัญญาแนวคิด เพียเจย์
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด-2ปี เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง5
2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-7ปี
   2-4ปี ⟶ภาษาพูดเป็นประโยคสั้นๆตอบตามที่ตาเห็น
   4-6ปี⟶เริ่มใช้เหตุผลได้
   ⇢ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ความคิด
   ⇢เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง ความยาว
   ⇢เล่นบทบาทสมมติ  เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเช่น จำนวน ตัวเลข อักษร คำที่มีความหมาย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทำให้สามารถจัดประสบการณ์ได้ตามวัยของเด็กว่าควรเหมาะกับแบบไหน

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจฟังอาจารย์สอน บางครั้งก็มีอาการง่วง
อาจารย์: สอนเข้าใจง่าย  เสียงดัง คอยกระตุ้นไม่ให้ง่วง พูดขำขันเพื่อให้นักศึกษาไม่ง่วงลดความกดดันในการเรียน
สภาพแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์ยังไม่พร้อมเท่าที่ควร



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากลาในคาบนี้จึงได้นำข้อมูลมาจากนางสาวณัชชา เศวตทวีได้ข้อมูลดังนี้
-สังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชาร่วมกันภายในห้อง ทำให้เข้าใจถึงวิชาที่จะเรียน
-การจัดประสบการณ์จำเป็นต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-ร่วมแสดงความคิดเห็นสิ่งที่คาดหวังในวิชานี้
-มาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ สสวท.

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทำให้สามารถจัดประสบการณ์ได้ตามวัย

การประเมินผล

ตนเอง: -
อาจารย์: -
สภาพแวดล้อม: -