Psyduck Pokemon

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากไม่ไม่สบายจึงได้รับข้อมูลจากนางสาวณัชชา เศวตทวี ดังนี้
การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
🔼 โดยการนับ
🔼 จับคู่ 1 ต่อ 1
🔼 เปรียบเทียบรูปทรง
🔼 เรียงลำดับ
🔼 จับกลุ่ม
จอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ คือ

1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ⏩ ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) ⏩ สร้างมโนภาพในใจได้
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) ⏩ เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

เลฟ ไวก็อตสกี้ (Lev Vygotsky) "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุน และเพิ่มพัฒนาการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ (Internalize)"

- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มีสมรรถนะ (Competency)
- "นั่งร้าน" (Scaffold) การสนับสนุนของผู้ใหญ่โดยให้การช่วยเหลือกับเด็ก
-ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย
เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลงขวด 5 ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง 
(ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง

เพลงเท่ากัน - ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา   ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา     สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา     สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น    ไม่เท่ากันเอย

เพลงบวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ            ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้รู้องค์ประกอบของนักทฤษฏีนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้
ตนเอง: -
อาจารย์:-
สภาพแวดล้อม: -




วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

1.ประสบการณ์➨เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยเด็กได้เลือกและตัดสินใจอย่างอิสระ
2.การเล่น➨ เป็นวิธีการเรียนรู้
3.พัฒนาการของเด็กปฐมวัย➨ มีอายุเป็นตัวกำกับ
 🔺ประโยชน์ของพัฒนาการ
เป็นการแสดงความสามารถของเด็กที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
➪ทำให้เรารู้ว่าเด็กมีความสามารถ
➪ทำให้เราจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมตามวัยเพื่อส่งเสริมและแก้ไข
พัฒนาการด้านสติปัญญา
แรกเกิด-2ปี ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
ทฤษฏีพัฒนาการการด้านสติปัญญาแนวคิด เพียเจย์
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด-2ปี เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง5
2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-7ปี
   2-4ปี ⟶ภาษาพูดเป็นประโยคสั้นๆตอบตามที่ตาเห็น
   4-6ปี⟶เริ่มใช้เหตุผลได้
   ⇢ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ความคิด
   ⇢เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง ความยาว
   ⇢เล่นบทบาทสมมติ  เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเช่น จำนวน ตัวเลข อักษร คำที่มีความหมาย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทำให้สามารถจัดประสบการณ์ได้ตามวัยของเด็กว่าควรเหมาะกับแบบไหน

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจฟังอาจารย์สอน บางครั้งก็มีอาการง่วง
อาจารย์: สอนเข้าใจง่าย  เสียงดัง คอยกระตุ้นไม่ให้ง่วง พูดขำขันเพื่อให้นักศึกษาไม่ง่วงลดความกดดันในการเรียน
สภาพแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์ยังไม่พร้อมเท่าที่ควร



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากลาในคาบนี้จึงได้นำข้อมูลมาจากนางสาวณัชชา เศวตทวีได้ข้อมูลดังนี้
-สังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชาร่วมกันภายในห้อง ทำให้เข้าใจถึงวิชาที่จะเรียน
-การจัดประสบการณ์จำเป็นต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-ร่วมแสดงความคิดเห็นสิ่งที่คาดหวังในวิชานี้
-มาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ สสวท.

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทำให้สามารถจัดประสบการณ์ได้ตามวัย

การประเมินผล

ตนเอง: -
อาจารย์: -
สภาพแวดล้อม: -