Psyduck Pokemon

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

จากการศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของจังหวัดในภาคตะวันออก ผู้วิจัยจำแนกการอภิปรายผลออกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. ระดับความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศารตร์ของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
    1.1 ความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ ผู้ปกครองต้องการให้ เด็กปฐมวัยมีความพร้อมในเรื่องตัวเลข คือสามารถนับเลขและอ่านเลขได้
    1.2 ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากการวิจัยพบว่าผู้ปกครองให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของ ตัวเลข จำนวน การสังเกตเปรียบเทียบ การจำแนกแยกแยะ และการรู้จักตำแหน่ง บน ล่าง หน้า หลัง ซึ่งเด็กจำเป็นต้องนำไปใช้ในชีวิตแต่ละวัน
    1.3 ด้านการเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ ในการวิจัยพบว่าผู้ปกครอง ต้องการให้ครูจัดบรรยากาศของการเรียนคณิตศาสตร์ที่ไม่เคร่งเครียด และมีสื่ออุปกรณ์ที่น่าสนใจ และในการเรียนคณิตศาสตร์ผู้ปกครองต้องการให้เด็กได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติด้วยตนเตง เพื่อที่จะได้เสริมทักษะในด้านคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
2.เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำแนกตามความเกี่ยวข้องกับเด็กแตกต่างกัน มีอาชีพแตกต่างกัน แต่มีความต้องการทางด้านปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกัน



สรุปวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

   กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวันหรือ 6 กิจกรรมหลัก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ 2546 มีกิจกรรมดังนี้
1.ปูมีขา(กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ) เด็กจะได้เรียนรู้ว่าปูมีขา 8 ขา มีก้าม 2 ก้าม เกิดการเปรียบเทียบจากการนับนิ้วมือ
2.ต้นไม้ใกล้ตัว(กิจกรรมเสริมประสบการณ์) เป็นการเปรียบเทียบ การนับจำนวนของใบไม้ที่ร่วง จากการศึกษานอกห้องเรียน
3.ใบไม้แสนสวย(กิจกรรมสร้างสรรค์) เป็นการร้อยใบไม้ การพิมพ์ภาพของใบไม้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
4.มุมคณิต (กิจกรรมเสรี) โดยการให้เด็กนำสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรามาวางให้ตรงกับจำนวนบัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
5.เกมกระต่ายเก็บของ(กิจกรรมกลางแจ้ง)เป็นการเก็บของจากการจัดสิ่งของตามลำดับ 5 สิ่งโดยให้เด็กๆวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบทุกสิ่ง
6.เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหินสองสี มาเรียงตามจำนวนสีให้ตรงกับบัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
  นอกจากนี้เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน การนำมาประยุกต์ใช้ และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก ที่สำคัญเราต้อง เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ให้เด็อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำและง่ายขึ้น


สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  คณิตศาสตร์กับชีวิต

“จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอดีตจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์คือระหว่างปี พ.ศ. 2325-2426 นั้นประเทศไทยยังไม่มีโรงเรียน แต่มีการเรียนกันที่วัดหรือที่บ้าน ความมุ่งหมายในสมัยนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขได้ นอกจากนั้นอาจมีการเรียนช่างฝีมือกันที่บ้าน...” (ทิศนา แขมณี: ศาสตร์การสอน; 29)
                จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ (1)หาสิ่งที่ต้องการทราบ (2)ว่างแผนการแก้ปัญหา (3)ค้นหาคำตอบ (4)ตรวจสอบ จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
                จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
                การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
                การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
                ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
                จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การวางแผนการทำงานในรูปแบบต่างๆ ล้วนสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนในฐานะที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่กกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ของคณิตศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่าน เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วจะได้เห็นความสำคัญของคณิตศษสตร์

 
 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

   ทำปฏิทิน ซึ่งในวันนี้ทำในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องและแก้ไขทำให้เสร็จ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็สามารถนำไปใช้ได้จริง

   จากนั้นก็นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์มา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อสื่อการสอนชิ้นนี้ว่า  "โรงเรียนหรรษา"
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้คือ  - ฟิวเจอร์บอร์ด  
                               - แกนกระดาษทิชชู่  
                               - กระดาษสีแข็ง  
                               - กระสีอ่อน
                               - ฝาขวดน้ำ 
                               -กระดาษขาวเทาแข็ง 
                               - แผ่นใส 
                               - เทปกาว

วิธีการทำ 1. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดออกมาแล้วทำเป็นตัวฐาน
              2. พับกล่องที่มีขนาดต่างกัน 5 กล่อง ได้แก่ 2 กล่องใส่ตัวเลขและฝา  2 กล่องนำมาติดเพื่อหยอดฝาลงไป  1 กล่องใส่ผลรวมของฝาที่ไหลลงมาจากกล่องด้านบน
             3. นำกล่องและแกนกระดาษทิชชู่ที่หุ้มกระดาษสีแล้วมาติดเข้ากับฟิวเจอร์บอร์ด
             4. ทำที่ใส่ตัวเลขให้ติดกับตัวกล่องที่พับขึ้นมา โดยใช้เทปกาวหนังไก่และแผ่นใส
             5. ตัดประดาษสีแปะกับกระดาษแข็งทำเป็นหลังคาให้ดูคล้ายกับโรงเรียน

วิธีการเล่น  นำฝาที่มาหยอดใส่กล่องทั้ง 2 ฝั่ง และนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าจำนวนฝาที่หยอดลงไป ฝาจะไหลลงมาที่กล่องใหญ่ นับจำนวนฝาและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

 เด็กจะได้สาระการเรียนรู้เรื่องจำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณและนำฝามาจัดแยกหมวดหมู่โดยการตั้งเกณฑ์ได้ รวมได้สาระการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตได้จากการสอดแทรกจากรูปทรงของตัวกล่องและหลังคาโรงเรียนอีกด้วย 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 ได้นำเสนอสื่ออาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ทำให้มีวิธีการคิดที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง และปฏิทินก็สำเร็จเรียบร้อยสามารถนำไปใช้ได้จริง

การประเมิน

  ตนเอง: ตั้งใจทำปฏิทินให้สำเร็จ นำเสนอสื่อเป็นกลุ่ม และจะนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ไปปฎิบัตินำนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน
  อาจารย์: ให้คำปรึกษาแนะนำที่ดี ในขณะที่ทำสื่อ อาจารย์ก็จะเดินดูแต่ละกลุ่มพร้อมบอกสิ่งที่ควรแก้ไข แนะนำเพิ่มเติม อบอุ่น น่ารัก
  สภาพแวดล้อม: น่าเรียน อุปกรณ์ครบครัน



วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  เนื่องจากต้องไปทำธุระที่กองบังคับการทหารไทย มาเรียนช่วยเพื่อนทำงานและต้องรีบออกไป อยู่ไม่ทันตอนแต่ละกลุ่มสอน เลยได้นำของนางสาวณัชชา  เศวตทวีมาอ้างอิงดังนี้
นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสต์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละส่งตัวแทนที่สอนในแต่ละวันออกมาสอน และให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้

วันจันทร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน (ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษายานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย) 
วันศุกร์  หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)




กลุ่มของข้าพเจ้าได้สอนในวันอังคาร เรื่องลักษณะของบ้าน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

แผนการสอนของแต่ละกลุ่มมีความหลากหลาย และได้เห็นแนวการสอนของแต่ละกลุ่มที่ลองสอนจริง รวมถึงอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขการสอนให้ดีขึ้นได้

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้ช่วยเพื่อนเตรียมตัวในการสอบสอน
  อาจารย์: อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ และเสริมจากที่เราสอน
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ  

นำเนอสื่อที่ตนเองได้หามาให้อาจารย์และเพื่อนๆฟัง อาจารย์ก็จะบอกข้อดีข้อเสียให้เรานำไปใช้ได้




และอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆที่ยังไม่นำเสนอวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอน มานำเสนอ และอาจารย์ก็ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก มีคำถามดังนี้
1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า
  โดยแต่ละคนต้องคิดวิธีการสอนของตนเองขึ้นมา โดยอาจารย์จะดูว่าเราเข้าใจแค่ไหน และอาจารย์จะดูของแต่ละคน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  ได้ฟังบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัยที่สามารถนำมาปรับใช้ในการกเรียนได้

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ถาม จากที่เพื่อนนำเสนอ
  อาจารย์: ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี และการนำไปปรับใช้
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  อาจารย์แนะนำเกมการศึกษาในรูปแบบต่างๆเช่น เกมจับคู่  เกมโดมิโน เกมลอตโต จิ้กซอว์






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 ได้รู้ว่าเกมการศึกษามีหลากหลายรูปแบบสามารถทำเองได้จากวัสดุเหลือใช้ ประยุกต์ให้สอดคล้องในแต่ละวิชา

การประเมินผล

  ตนเอง: ได้แนวคิด ทักษะกระบวนการในการทำเกมการศึกษา
  อาจารย์: มีเกมการศึกษาให้เราได้ดูอย่างหลากหลายพร้อมบอกวิธีในการทำ
  สิ่งแวดล้อม: วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆครบ