Psyduck Pokemon

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อนวัตกรรมการสอน
     ให้เด็กได้เล่นจริง มีคุณภาพ เสริมความรู้ เสริมประสบการณ์ให้เด็ก มีความคงทนและปลอดภัยต่อตัวเด็กจากที่ได้ดูสื่อการสอนของรุ่นพี่ จะยกตัวอย่างมีดังนี้คือ ตัวอักษรกระดาษทราย จะเป็นพยัญชนะโดยใช้ตัวอักษรกระดาษทราย โดยให้ใช้นิ้วมือสัมผัส บล็อก จะใช้หลักมอนเตสเซอรี่ให้เด็กได้รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง



งานวิจัย
     มีสองเรื่องคือ การศึกษาการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่ และ การส่งเสริมกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย
แผนการจัดการเรียนรู้
     เน้นการจัดประสบการณ์ทั้งสี่ด้านให้กับตัวเด็ก ให้เด็กได้เห็นขอจริง ได้รู้ได้สังเกต ไม่เน้นให้เด็กได้หัดเขียน หัดอ่าน 
Project Approach
     เป็นเรื่องในหลวง แบ่งการดำเนินการเป็นสามระยะคือ
ระยะที่ 1 ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถามได้คำถามคือ ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง
ระยะที่ 2 ครูจัดโครงการขึ้นมาทำให้เด็กได้เรียนรู้และเกิดประสบการณ์ใหม่โดยที่ครูและเด็กๆร่วมกันทำไข่พระอาทิตย์
ระยะที่ 3 ครูให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้และประเมินผล
     จากการทำไข่พระอาทิตย์เด็กได้เรียนรู้การทำไข่พระอาทิตย์ และไดใช้หลัก STEM มาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     ได้เห็นพี่ๆนำเสนอผลงานของตนเอง พี่ๆมีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย น้ำเสียงฟังชัดเจน จะนำไปใช้ในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในวิชาได้ และได้รู้วิธีการทำโปรเจคที่ต้องละเอียดและนำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้ การเขียนแผนการสอยรูปแบบวิธีการเขียนแผน

การประเมินผล

     ตนเอง: ได้เข้าใจการทำโปรเจคมากขึ้น ได้เห็นสื่อการสอนของจริงที่มีการนำไปใช้จริง รู้วิธีการเขียนแผนการสอนมากยิ่งขึ้น และได้มีปฏิสัมพันธ์กับพี่ๆด้วย
     อาจารย์: แนะนำ ชี้แนะ จากผลงานของพี่ๆให้เราได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
     สภาพแวดล้อม: พี่ๆจัดผลงานได้สวย หลากหลาย น่าชมมาก



วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2560


ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 3 เรขาคณิต
     🔼มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
     🔼มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดการกระทำ
          ⧫ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง การบอกตำแหน่ง ทิศทาง
          ⧫รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ งานสร้างสรรค์
สาระที่ 4 พีชคณิต
     🔼มาตรฐาน ค.ป. เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
     🔼มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองและธรรมชาติรอบตัว การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอแผนภูมิอยางง่าย
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
     การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และการเชื่องโยงกับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

รุ้และเข้าใจสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นำไปใช้ในกานสอน และปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

การประเมินผล

ตนเอง: เข้าใจความหมาย ตั้งใจเรียน
อาจารย์: คาบนี้อาจารย์สอนเร็วเพราะอาจารย์มีประชุม
สภาพแวดล้อม: เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่ดี

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

ได้รับความรู้เกี่ยวกับความรู้เชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวข้องกับความรู้ 4 ประเภทดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด
2.ความรู้ทาสังคม (Social knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน หนึ่งปีมี 12 เดือน
3.ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic knowledge) การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยง เช่น การนับจำนวณสิ่งของของกลุ่มหนึ่ง
4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic knowledge) เป็้นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ เช่น เขียนเลข 8 แทนจำนวนผลไม้ วาดวงกลมแทนจำนวน

เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง           ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ     นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา     หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
     🔼มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวณและการใช้จำนวนในชีวิตจริงเช่น จำนวนบอกปริมาณในการนับ การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับจำนวน การรวมและการแยกกลุ่ม ความหมายของการรรวม การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีจำนวณผลไม้ไม่เกิน 10 ความหมายของการแยก การแยกกลุ่มย่ยออกจากลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 การวัด
     🔼มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร การเปรียบเทียบ การวัด การเรียงลำดับความยาว การเปรียบเทียบ การชั่ง การเรียงงลำดับน้ำหนัก การเปรียบเทียบปริมาตร การตวง เงิน ชนิด และค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เวลา ช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช้บอกกับวัน เช่น ปฏิทิน

การนำไปประยุกต์ใช้

เข้าใจความรู้เชิงคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้รู้มาตรฐานสาระการเรียนรู้ นำไปใช้ในการสอน ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การประเมินผล

ตนเอง: สนุกกับการเรียนได้ร้องเพลงร่วมกับเพื่อนๆ
อาจารย์: สอนเข้าใจง่ายลึกซึ้ง
สภาพแวดล้อม: อุปกรณ์ สื่อการสอนครบ น่าสนใจ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

ได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้พับกระดาษแบ่งเป็นส่วนๆ ได้ออกแบบชื่อเล่นตัวเอง ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนแปลง
คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
ความสำคัญ คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์และศิลปะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด มีเหตุผล พิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือในการฝึกการคิดอย่างมีระบบ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ประโยชน์ ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรมที่จำนำเด็กไปสู่ความเข้าใจ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กระบวนการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ
1.การนับ (Counting)
2.ตัวเลข (Number)
3.การจับคู่ (Matching)
4.การจัดประเภท (Classification)
5.การเปรียบเทียบ (Comparing)
6.การจัดลำดับ (Ordering)
7.รูปทรง เนื้อที่ (Shape and Space)
8.การวัด (Measurement)
9.เซต (Set)
10.เศษส่วน (Fraction)
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conserration)
ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แก้เป็นหาเป็น มีความสามารถในการคิดคำนวณ เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น รู้จักสังเกต เปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ เพิ่มขึ้น ลดลง
แนวทางในการส่งเสิมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบจุดประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหา วิธีการสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้อการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้รู้และเข้าใจความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กได้ ได้ความรู้เพิ่มเติม

การประเมินผล

อาจารย์: สอนได้เข้าใจ อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพประกอบได้ดี
ตนเอง: ตั้งใจเรียน แอบง่วงแต่ก็ไม่หลับเพราะเสียงอาจารย์ชัดเจน ทำให้ตื่นตัวตลอดเวลา
สภาพแวดล้อม: อุปกรณ์สื่อครบ เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีความสุขไม่กดดัน