Psyduck Pokemon

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

   ทำปฏิทิน ซึ่งในวันนี้ทำในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องและแก้ไขทำให้เสร็จ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็สามารถนำไปใช้ได้จริง

   จากนั้นก็นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์มา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อสื่อการสอนชิ้นนี้ว่า  "โรงเรียนหรรษา"
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้คือ  - ฟิวเจอร์บอร์ด  
                               - แกนกระดาษทิชชู่  
                               - กระดาษสีแข็ง  
                               - กระสีอ่อน
                               - ฝาขวดน้ำ 
                               -กระดาษขาวเทาแข็ง 
                               - แผ่นใส 
                               - เทปกาว

วิธีการทำ 1. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดออกมาแล้วทำเป็นตัวฐาน
              2. พับกล่องที่มีขนาดต่างกัน 5 กล่อง ได้แก่ 2 กล่องใส่ตัวเลขและฝา  2 กล่องนำมาติดเพื่อหยอดฝาลงไป  1 กล่องใส่ผลรวมของฝาที่ไหลลงมาจากกล่องด้านบน
             3. นำกล่องและแกนกระดาษทิชชู่ที่หุ้มกระดาษสีแล้วมาติดเข้ากับฟิวเจอร์บอร์ด
             4. ทำที่ใส่ตัวเลขให้ติดกับตัวกล่องที่พับขึ้นมา โดยใช้เทปกาวหนังไก่และแผ่นใส
             5. ตัดประดาษสีแปะกับกระดาษแข็งทำเป็นหลังคาให้ดูคล้ายกับโรงเรียน

วิธีการเล่น  นำฝาที่มาหยอดใส่กล่องทั้ง 2 ฝั่ง และนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าจำนวนฝาที่หยอดลงไป ฝาจะไหลลงมาที่กล่องใหญ่ นับจำนวนฝาและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

 เด็กจะได้สาระการเรียนรู้เรื่องจำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณและนำฝามาจัดแยกหมวดหมู่โดยการตั้งเกณฑ์ได้ รวมได้สาระการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตได้จากการสอดแทรกจากรูปทรงของตัวกล่องและหลังคาโรงเรียนอีกด้วย 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 ได้นำเสนอสื่ออาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ทำให้มีวิธีการคิดที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง และปฏิทินก็สำเร็จเรียบร้อยสามารถนำไปใช้ได้จริง

การประเมิน

  ตนเอง: ตั้งใจทำปฏิทินให้สำเร็จ นำเสนอสื่อเป็นกลุ่ม และจะนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ไปปฎิบัตินำนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน
  อาจารย์: ให้คำปรึกษาแนะนำที่ดี ในขณะที่ทำสื่อ อาจารย์ก็จะเดินดูแต่ละกลุ่มพร้อมบอกสิ่งที่ควรแก้ไข แนะนำเพิ่มเติม อบอุ่น น่ารัก
  สภาพแวดล้อม: น่าเรียน อุปกรณ์ครบครัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น